วงศ์ผีเสื้อยักษ์ (Saturnidae)

วงศ์ผีเสื้อยักษ์ (Saturnidae)


วงศ์ผีเสื้อยักษ์ (Saturnidae)
ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขนาดของปีกใหญ่ที่สุด     จำนวนชนิดไม่มากนัก หนวดมีรูปร่างแบบฟันหวี   เห็นได้ชัดมากในตัวผู้   ส่วนปากหดหายไป จึงไม่กินอาหารเลย   หนอนมีขนาดใหญ่มาก   มีปุ่มหนามทั่วตัว  เข้าดักแด้ในรังดักแด้ที่เอาใบไม้แห้งหลายใบมาพันเข้าด้วยกัน  ชนิดที่รู้จักกันดีคือ   ผีเสื้อหนอนใบกระท้อนหรือผีเสื้อยักษ์  (Attacus  atlas)  มีปีกแผ่กว้างถึง ๑๕-๑๘ เซนติเมตร   ผีเสื้อหนอนอะโวกาโด (Cricula  trifenestrata) ผีเสื้อพระจันทร์(Actias  selene) ปีกสีเขียว  หางยาวมาก  ผีเสื้อที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์  โดยเราได้เส้นไหมจากรังดักแด้มาทอผ้า  ได้แก่  พวกผีเสื้อไหมป่า ในสกุล Antheraea  และ  Philosamia


วงศ์ผีเสื้อพราหมณ์ (Brahmaeidae)
วงศ์ผีเสื้อพราหมณ์ (Brahmaeidae)

          เป็นวงศ์เล็ก    แต่มีขนาดใหญ่    อาศัยอยู่มากในเขตอบอุ่นเหนือปีกมีลายแปลกสะดุดตาสีน้ำตาล    หนวดแบบฟันหวีคล้ายผีเสื้อในวงศ์ก่อน  แต่พวกนี้มีงวงใช้ดูดน้ำหวาน  มักพบมาบินเล่นไฟตอนกลางคืนในบริเวณป่าทึบ  ในประเทศไทยพบตามป่าค่อนข้างสูง
วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)

วงศ์ผีเสื้อหนอนคืบ (Geometridae)






          เป็นวงศ์ที่ใหญ่เป็นอันดับ     ปีกบาง   ขนาดเล็กมากจนถึงขนาดปานกลาง    สีและลวดลายมักคล้ายกันทั้งสองปีก  เวลาเกาะกับพื้นจะแผ่ปีกแบนราบกับที่เกาะ  หนอนได้ชื่อว่า   "หนอนคืบ"      เนื่องจากมันมีขาอยู่ตอนปลายสุดทางหัวและทางท้ายเวลาเคลื่อนที่จึงใช้วิธีคืบไป   หนอนมีสีและลวดลายใกล้เคียงกับพืชอาหาร   เวลาตกใจจะยืดตัวตรง  อยู่นิ่งเฉยเป็นเวลานาน  เข้าดักแด้ในดินหรือในรังดักแด้   ที่ห่อเอาใบไม้มาติดกันไว้หลวมๆชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจ    คือผีเสื้อหนอนกินใบเงาะ (Pingasaruginaria)

วงศ์ผีเสื้อปีกขอ (Drepanidae)

วงศ์ผีเสื้อปีกขอ (Drepanidae)

          ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับผีเสื้อหนอนคืบมาก    แต่ส่วนมากจะมีมุมปลายปีกคู่หน้าโค้งงอคล้ายตะขอ  หนามสำหรับเกี่ยวปีกเล็กมาก  หรือไม่มีเลย ส่วนมากมีสีน้ำตาล    มีชุกชุมมากที่สุดในบริเวณเอเชียเขตร้อน  หนอนตัวเรียว  ตอนปลายตัวมีติ่งยื่นออกไป   ติ่งนี้จะยกขึ้นมาได้   เข้าดักแด้ตามใบไม้บนดิน