วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae)

วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae)




วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae)

          ผีเสื้อในวงศ์นี้มีชุกชุมในประเทศร้อน  พบในประเทศไทย๕๘  ชนิด ทั้งสองเพศมีขาคู่หน้าที่สมบูรณ์   ตัวผู้มีกระจุกขนเล็กๆ ทางด้านในของปลายขา ใกล้โคนปีกคู่หน้ามีเส้นปีกเล็กๆโค้งลงล่าง  ปีกคู่หลังมีเส้นปีกแยกจากโคนปีกเพียงเส้นเดียว (วงศ์อื่นๆ มี ๒ เส้น)  ตัวผู้มีขอบในของปีกคู่หลัง  มักพับขึ้นมา และมีกระจุกขนสีขาวอยู่เต็ม    หนอนมีรูปร่างหลายแบบทุกแบบมีอวัยวะที่เรียกว่า   ออสมีทีเรียม   (osmeterium)ใช้ปล่อยกลิ่นออกมาขับไล่ศัตรู  รูปร่างเป็นแฉกสีแดงซ่อนอยู่ในช่องข้างหลังหัว  ชนิดที่พบทั่วไป ตัวหนอนกินใบมะนาวและส้มคือ ผีเสื้อหนอนส้ม และ  P. Demoleus   มักพบตัวผู้ลงจับกลุ่มกินน้ำตามทรายชื้น  ตัวเมียอยู่ตามยอดไม้หรือที่สูง

วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)

วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ (Pieridae)



          พบอาศัยอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน  มักมีปีกสีเหลืองและขาว   ขาคู่หน้าเจริญดีเหมือนผีเสื้อหางติ่ง  เล็บที่ปลายเท้ามี ๔ ซี่  ต่างจากผีเสื้อในวงศ์อื่นที่มีเพียง ๒   ซี่เท่านั้น  ในประเทศไทยมีประมาณ   ๕๐ ชนิด  ที่พบเห็นทั่วโลกคือ ผีเสื้อหนอนคูน (Catopsilia  pomona) กินใบคูน   และใบขี้เหล็ก  ผีเสื้อเณร (Eurema  spp.) ตัวเหลืองเล็ก  บินเรี่ยๆตามกอหญ้า  หนอนสีเขียวใบไม้มีลายขาวพาดด้านข้างตัวตลอดตัว   มักพบลงเกาะดูดกินน้ำตามทรายชื้นเป็นกลุ่มใหญ่
วงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก (Danaidae)
วงศ์ผีเสื้อหนอนใบรัก (Danaidae)

          ผีเสื้อในวงศ์นี้  ตัวขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  มีสารพิษอยู่ในตัว  ได้มาจากพืชอาหารตอนที่เป็นตัวหนอน   ตอนโคนปีกคู่หน้ามีเส้นปีกบางๆ สั้นมาก โค้งขึ้นข้างบน   ปีกทั้งสองมีเซลล์ปีกแบบปิด  ตัวผู้มีแถบเพศเป็นก้อนสีเข้ม หรือเป็นบริเวณสีด้านๆ  นอกจากนี้จะพบมีพู่ขน  ๒ - ๔   พู่ ตรงปลายส่วนท้อง  หนอนมีลายพาดขวางสีเหลืองสลับดำ  หรือส้มอ่อนสลับดำ และมีขนยาว ๒-๔ คู่  กินพืชป่าพวกที่มียางขาวและพวกมะเดื่อ  หนอนชนิดที่กินใบรัก  คือ  Danaus  chrysippus
วงศ์ผีเสื้อสีน้ำตาล (Satyridae)

วงศ์ผีเสื้อสีน้ำตาล (Satyridae)

          วงศ์นี้เชื่อว่ามีแหล่งกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน    มีชุมมากในเขตอบอุ่นทั่วโลก     ส่วนมากมีสีน้ำตาลอ่อนหรือแก่ประกอบด้วยลายขีดหรือแต้มด้วยจุด  ดวงตากลม  (ocellus) ปีกทั้งสองคู่มีเซลล์ปีกปิด  มีเส้นปีก ๑  เส้นหรือมากกว่าขยายพองโตกว่าปกติ   พบในเมืองไทยประมาณ   ๘๐ ชนิด หนอนตัวยาวเรียวไปทางหัวและท้ายกินใบพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว   เช่น  หญ้าไผ่  และปาล์มต่างๆ  ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ  ได้แก่ผีเสื้อหนอนมะพร้าว (Elymnias  hypermnestra)
วงศ์ผีเสื้อป่า (Amathusiidae)
วงศ์ผีเสื้อป่า (Amathusiidae)

          ผีเสื้อขนาดกลางจนถึงใหญ่มาก    พบเฉพาะในทวีปเอเชียจนถึงออสเตรเลีย คล้ายคลึงกับผีเสื้อในวงศ์  Morphidae  ของอเมริกาเขตร้อน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายผีเสื้อสีน้ำตาล ปีกกว้างกว่า  หนวดรูปกระบองเรียว ปลายเซลล์ของปีกคู่หน้ายื่นแหลมออกมามีในประเทศไทย   ๒๘   ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และสีสะดุดตา  เช่น ผีเสื้อนางพญากอดเฟรย์ (Stichophthalmagodfreyi)  พบครั้งแรกในประเทศไทย หนอนมีขนคลุมทั่วตัว กินอยู่เป็นกลุ่ม  เช่น  ผีเสื้อหนอนมะพร้าวขนปุย (Amathusia  phidip-pus) เคยมีการระบาดทำลายมะพร้าวในภาคใต้

วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae)


วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae)

          ผีเสื้อในวงศ์นี้มีขาคู่หน้าหดเล็กลง  ใช้ในการเดินหรือเกาะไม่ได้ จึงเห็นเป็นพู่ขนสั้นๆ บางคนจึงเรียกกันว่า  "ผีเสื้อสี่ขา"  สีโดยทั่วไปสดใส ปีกทั้งสองมีเซลล์ปีกเปิด  การจำแนกผีเสื้อในวงศ์นี้ยึดลักษณะของตัวหนอนเป็นหลัก หนอนมีขนเป็นหนามอยู่ทั่วตัวเป็นส่วนใหญ่  ออกหากินเฉพาะในเวลาที่มีแสงแดดจัด มักพบกางปีกออกผึ่งแดดอยู่ตามยอดไม้  ผีเสื้อที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ  ได้แก่ ผีเสื้อหนอนละหุ่ง (Ariadne  aridadne)ผีเสื้อบารอนหนอนมะม่วง (Euthalia  aconthea)

วงศ์ผีเสื้อจมูกแหลม (Libytheidae)


วงศ์ผีเสื้อจมูกแหลม (Libytheidae)

          เดิมผีเสื้อในวงศ์นี้ถูกจัดรวมไว้กับผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อปีกกึ่งหุบ แต่มีลักษณะที่เห็นได้ชัด คือ ส่วนปากยื่นแหลมออกไปข้างหน้ามาก ปลายปีกโค้งออก มุมปลายตัดเป็นมุมฉาก ปกติพบเกาะตามทรายชื้นริมลำธารและแม่น้ำ ในเมืองไทยมีอยู่เพียง๔ ชนิด ทุกชนิดอยู่ในสกุล Libythea