วงศ์ผีเสื้อมอทป่า (Agaristidae)

วงศ์ผีเสื้อมอทป่า (Agaristidae)


วงศ์ผีเสื้อมอทป่า (Agaristidae)

          ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อหนอนกระทู้ปีกดำ แต้มจุดและแถบสีแดง  เหลือง  และส้ม   ออกหากินในเวลากลางวัน   หนอนมีสีสด   และออกกินใบพืชในที่โล่งแจ้ง


วงศ์ผีเสื้อลายเสือ (Arctiidae)



วงศ์ผีเสื้อลายเสือ (Arctiidae)
       พบอาศัยอยู่ทั่วโลก  มีชุกชุมในเขตร้อน  ส่วนมากปีกสีอ่อนมีแต้มหรือจุดสีเข้มและสีฉูดฉาด   มีอวัยวะรับคลื่นเสียง ของพวกค้างคาวได้  ทั้งยังสามารถปล่อยคลื่นออกรบกวนระบบเรดาร์ของค้างคาวได้อีกด้วย     เวลาถูกรบกวนจะทิ้งตัวลงนอนนิ่งบนพื้นดิน หนอนมีขนปกคลุมหนาแน่นมาก  ส่วนมากกินใบพืชจำพวกหญ้า   ชนิดที่สำคัญ  คือ  บุ้งสีน้ำตาล ในสกุล Creatonotusและชนิด  Amsacta  lactinea ทำลายใบข้าวโพดชนิด  Utetheisapulchella  ได้แก่  หนอนกินดอกต้นงวงช้าง
วงศ์ผีเสื้อหญ้า (Euchromiidae)


วงศ์ผีเสื้อหญ้า (Euchromiidae)

          ผีเสื้อในวงศ์นี้มีสีสดใส  พบมากในเขตร้อน  ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง  หากินในเวลากลางวัน    ปีกมีสีคล้ายกับผีเสื้อลายเสือหนอนมีลักษณะคล้ายกับหนอนผีเสื้อลายเสือ   เข้าดักแด้ในรังดักแด้ที่ทำด้วยเส้นไหมและขนจากตัวหนอน  โดยทั่วไปจะมีรูปร่างคล้ายกับพวกต่อแตน  หนอนกินพืชจำพวกหญ้าเป็นอาหาร
วงศ์ผีเสื้อหางเหลือง (Lymantriidae)




วงศ์ผีเสื้อหางเหลือง (Lymantriidae)

          เป็นวงศ์ผีเสื้อขนาดเล็กมีแพร่กระจายทั่วโลก  บางชนิดเป็นแมลงศัตรูป่าไม้ที่สำคัญในเขตอบอุ่น ไม่มีงวงดูดอาหาร และไม่มีตาเดี่ยว  ตัวผู้มีหนวดแบบฟันหวี  และเป็นฝ่ายบินไปหาตัวเมียซึ่งไม่มีปีกเลย  หรือมีปีกขนาดเล็กมาก  ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มปกคลุมด้วยขนจากส่วนท้อง  หนอนมีขนเป็นกระจุกสีต่างๆ มีพิษทำให้คันได้ ชนิดที่พบเป็นศัตรูพืชในประเทศไทย คือ บุ้งเหลือง (Dasychira   horsfieldi) กินใบชมพู่  ฝรั่ง   ข้าวโพด    บุ้งหูแดง (Euproctis  virguncula)กินใบข้าวโพด  และบุ้งปกขาว (Orygia  turbata) กินใบถั่วลิสง

วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae)

 


วงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Hesperiidae)

          ผีเสื้อในวงศ์นี้มีลักษณะหลายอย่างแตกต่างไปจากผีเสื้อในวงศ์อื่นๆ ทั้งหมด ลักษณะใกล้ไปทางผีเสื้อกลางคืน  เส้นปีกทุกเส้นแยกออกมาจากเซลล์ปีก  หรือจากโคนปีกโดยตรง ไม่มีการแตกสาขา   หัวกว้างกว่าลำตัวโคนหนวดแยกห่างออกจากกัน  ส่วนมากมีปลายหนวดโค้งงอเป็นขอ  เวลาเกาะจะกางปีกคู่หน้าออกเล็กน้อย    แล้วแผ่ปีกคู่หลังออกเกือบตั้งฉากกับปีกคู่หน้า ในเมืองไทยมีอยู่ประมาณ  ๒๐๐  ชนิด หนอนชอบกินใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยว   เช่น   หญ้า   ปาล์ม  ขิง ข่า  อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนด้วยเส้นใย    หนอนมีสีเขียวอ่อนหัวดำคอดลง เห็นชัดบริเวณคอเข้าดักแด้ในม้วนใบ    ชนิดที่สำคัญ คือ  หนอนม้วนใบกล้วย(Erionota  thrax) และหนอนม้วนใบมะพร้าว (Gangara  thyrsis)